สรุปเนื้อหาในงาน Macro Holiday 2024 หัวข้อ “GDP(Y)=C+I+G+NX from theory to the real world”

สรุปเนื้อหาในงาน Macro Holiday 2024 หัวข้อ “GDP(Y)=C+I+G+NX from theory to the real world”

“GDP (Y) = C+I+G+NX” คงจะเป็นสมการทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ที่นักศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์นั้นคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีเเต่อาจจะไม่เห็นภาพว่าเเต่ละตัวเเปรนั้นมีบทบาทอย่างไรบ้างในโลกเเห่งความเป็นจริง งาน Macro Holiday 2024 ในหัวข้อ “GDP=C+I+G+NX from theory to the real world” จึงได้เรียนเชิญผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานต่างๆมาให้ความรู้ ข้อมูล ข้อเท็จจริง และ สถิติเพื่อให้ได้เข้าใจถึงบทหน่วยงานต่างๆต่อเเต่ละตัวเเปรมากขึ้น GDP ( Y ) : Gross Domestic Product โดย คุณทักษอร พรภาวร ผู้ช่วยผู้อำนวยการธนาคารเเห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ เป้าหมายในการดูแลเศรษฐกิจนอกจากจะเป็นการทำให้เศรษฐกิจ (GDP) เติบโตอย่างต่อเนื่องเเล้วก็ยังมีอีกปัจจัยหนึ่งซึ่งสำคัญไม่เเพ้กันก็คือการดูเเลเสถียรภาพทางการเงินทั้งด้านอัตราเงินเฟ้อเพื่อไม่ให้ราคาเพื่มขึ้นสูงจนเกินไปจนกระทบกับประชาชนเเละด้านสถาบันการเงินให้ประชาชนเเละภาคธุรกิจสามารถออมเงิน , กู้ยืม เเละ ชำระหนี้ได้ซึ่งเป็นหน้าที่ของธนาคารเเห่งประเทศไทยโดยการทำนโยบายการเงินผ่านการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ถูกกำหนดมาจากกรรมการนโบายการเงิน (กนง.) โดยจะทำการกำหนดเป้าหมายนโบายกับรัฐบาลในทุกๆปีเเละใน 1 ปีจะมีการประชุมตัดสินอัตราดอกเบี้ยนโยบายด้วยกัน 6 ครั้ง เเละภายหลังการประชุม กนง. จะมีการเเถลงข่าวผลการประชุมทันทีเพื่อชี้เเจงเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อให้เเต่ละฝ่ายได้วางเเผนปรับตัวทำให้เศรษฐกิจดำเนินไปอย่างราบรื่น เป้าหมายในการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจมหภาคนั้นคือการ Balance ระหว่าง 3 […]

“GDP (Y) = C+I+G+NX” คงจะเป็นสมการทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ที่นักศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์นั้นคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีเเต่อาจจะไม่เห็นภาพว่าเเต่ละตัวเเปรนั้นมีบทบาทอย่างไรบ้างในโลกเเห่งความเป็นจริง งาน Macro Holiday 2024 ในหัวข้อ “GDP=C+I+G+NX from theory to the real world” จึงได้เรียนเชิญผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานต่างๆมาให้ความรู้ ข้อมูล ข้อเท็จจริง และ สถิติเพื่อให้ได้เข้าใจถึงบทหน่วยงานต่างๆต่อเเต่ละตัวเเปรมากขึ้น

GDP ( Y ) : Gross Domestic Product โดย คุณทักษอร พรภาวร ผู้ช่วยผู้อำนวยการธนาคารเเห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ

เป้าหมายในการดูแลเศรษฐกิจนอกจากจะเป็นการทำให้เศรษฐกิจ (GDP) เติบโตอย่างต่อเนื่องเเล้วก็ยังมีอีกปัจจัยหนึ่งซึ่งสำคัญไม่เเพ้กันก็คือการดูเเลเสถียรภาพทางการเงินทั้งด้านอัตราเงินเฟ้อเพื่อไม่ให้ราคาเพื่มขึ้นสูงจนเกินไปจนกระทบกับประชาชนเเละด้านสถาบันการเงินให้ประชาชนเเละภาคธุรกิจสามารถออมเงิน , กู้ยืม เเละ ชำระหนี้ได้ซึ่งเป็นหน้าที่ของธนาคารเเห่งประเทศไทยโดยการทำนโยบายการเงินผ่านการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ถูกกำหนดมาจากกรรมการนโบายการเงิน (กนง.) โดยจะทำการกำหนดเป้าหมายนโบายกับรัฐบาลในทุกๆปีเเละใน 1 ปีจะมีการประชุมตัดสินอัตราดอกเบี้ยนโยบายด้วยกัน 6 ครั้ง เเละภายหลังการประชุม กนง. จะมีการเเถลงข่าวผลการประชุมทันทีเพื่อชี้เเจงเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อให้เเต่ละฝ่ายได้วางเเผนปรับตัวทำให้เศรษฐกิจดำเนินไปอย่างราบรื่น

เป้าหมายในการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจมหภาคนั้นคือการ Balance ระหว่าง 3 เป้าหมายที่มีทั้งเป้าหมายระยะสั้นเเละระยะยาว คือ เศรษฐกิจเจริญเติบโต เศรษฐกิจมีเสถียรภาพ และ เศรษฐกิจมีความเป็นธรรมไม่เหลื่อมล้ำซึ่งโดยหลักเเล้วเเบงค์ชาติจะเน้นใช้นโยบายการเงินควบคุมในเรื่องของการมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจที่เป็นเป้าหมายในระยะกลาง และ ระยะยาว

ในการดำเนินนโยบายการเงินนั้นจะอยู่บนพื้นฐานของทฤษฎี “Impossible Trinity” ที่บอกไว้ว่าการดำเนินนโยบายการเงินนั้นไม่สามารถบรรลุเป้าหมายทั้ง 3ด้านพร้อมกันได้การดำเนินจึงเป็นการหาจุดสมดุลเเละเลือกโฟกัสเป้าหมายที่เหมาะกับช่วงเวลานั้น

ทักษอร พรถาวร. ทฤษฎี impossible Theory. [Image]. สืบค้นเมื่อ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2567, จาก slide ประกอบการบรรยายหัวข้อ GDP

นโยบายการเงินของไทยในปัจจุบันสำหรับปี 2024 ได้มีการกำหนดกรอบอัตราเงินเฟ้อทั่วไปให้อยู่ในช่วง 1-3% โดยมีหลักการว่าต้องเป้าหมายเงินเฟ้อที่เป็นตัวเลขชัดเจน เน้นความโปร่งใส เเละ มีความยืดหยุ่นเพียงพอ เเละในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินมีมติ 5:2 ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 2.50%ต่อปี เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง

C : Consumption โดย คุณรัชกร ปิยะสัจบูลย์ รองประธานกรรมการหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่

จังหวัดเชียงใหม่นั้นเป็นจังหวัดที่มี GDP สูงที่สุดในภาคเหนือเเบ่งเป็นภาคการท่องเที่ยวเเละการบริการ 67.8% ภาคการเกษตร 22.1% เเละภาคการค้าปลีก-ค้าส่ง 10.1% แต่ก็ยังคงเป็นจังหวัดที่มี GDP เป็นอันดับ 8 ของประเทศเพียงเท่านั้น

“เชียงใหม่เมืองไม่มีอนาคต” จากเงินเดือนที่ไม่สูงนักทำให้ผู้คนออกไปหางานที่อื่นทำให้ประชากรหายส่งผลให้เศรษฐกิจในเชียงใหม่ไม่ได้เติบโตอย่างที่คิด แต่เศรษฐกิจที่เกิดขึ้นมาใหม่คือเศรษฐกิจจากต่างจังหวัดที่เข้ามาลงทุน ทำให้จำนวน Consumption ไม่ได้หมุนเวียนเท่าที่ควรเเละยังมีปัญหาชาวต่างชาติที่เข้ามาซื้ออสังหาริมทรัพยทำให้ Consumption ไม่ได้ตกเฉพาะกับคนในพื้นที่เพียงอย่างเดียวเเละเศรษฐกิจขาดการวางแผนอย่างเป็นระเบียบ พึ่งพาเศรษฐกิจการท่องเที่ยวมากไป ขาดงบประมาณการประชาสัมพันธ์เชียงใหม่เมืองไม่มีอนาคต ตัวเลขเงินเดือนที่ไม่สูง ทุกคนพร้อมที่จะออกไปทำงานนอกเชียงใหม่ ทำงานเศรษฐกิจในเชียงใหม่ไม่ได้เป็นอย่างที่คิด ปัญหาชาวต่างชาติที่เข้ามาซื้ออสังหาริมทรัพย์ ด้านอุตสาหกรรม ที่ชาวจีนเข้ามาครองตลาดและเงินทุน

I : Investment โดย ดร.อสมา เหลี่ยมมุกดา นักเศรษฐศาสตร์ Economic Intelligence Center ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

ก่อนจะไปพูดถึงตัวของ Investment ก็ต้องมาดูก่อนว่าภาพรวมของเศรษฐกิจไทยในช่วงปี 2023 นั้นเป็นอย่างไร โดย SCB EIC ได้ประเมินไว้ว่าGDP ไทยจะโตอยู่ที่ 2.6% โดยตัว consumption และ นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้ามาค่อนข้างดี แต่ตัว I ยังไม่ได้ดีเท่าที่ควรจากการที่คู่ค้าของไทยอย่างจีน หรือ USA เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจเกิดขึ้น เเต่ในปี 2024 ที่คาดว่า Global GDP จะโตได้มากขึ้นกว่าในปี 2023 ทำให้เกิด investvest เพื่อนำไปผลิตสินค้าได้มากขึ้น

สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ วิเคราะห์โดย SCB EIC (2566) . ประมาณการ เศรษฐกิจไทย (กรณีฐาน) [Image]. สืบค้นเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567, จาก สไลด์ประกอบการบรรยายหัวข้อ Investment

การลงทุนของภาคเอกชนในระยะสั้น ไม่ได้ขึ้นอยู่กับอัตราดอกเบี้ยเพียงอย่างเดียว แต่ขึ้นอยู่กับการส่งออกด้วยโดยจากสัญญานในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2023 ที่การส่งออกมีเเนวโน้มดีขึ้นปี 2024 SCB EIC จึงประเมินว่าการส่งออกจะดีขึ้นส่งผลให้การลงทุนภาคเอกชนดีขึ้น

การลงทุนของภาคเอกชนในระยะยาวนั้น ได้ถูกประเมินไว้เศรษฐกิจไทยจะเติบโตช้า เป็นผลจากปัญหาเชิงโครงสร้างที่สะสมมานานรวมถึงผลกระทบจากปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นทั่วโลก

ส่วนในปัจจุบันการลงทุนภาคเอกชนนั้นเมื่อเทียบกับอดีต(ช่วงปี40)เเล้วถือลดต่ำลงอย่างมากเเละการลงทุนของภาครัฐในส่วนของการศึกษาเเละสาธารณสุขนั้นถือว่าค่อนข้างต่ำส่วนภาคธุรกิจนั้นฟื้นไม่ทั่วถึง ธุรกิจขนาดเล็กประสบปัญหาฟื้นตัวช้ากว่า เปราะบางกว่า และมีสัดส่วนรายได้ลดลง เพราะเกิดวิกฤตจากช่วงโควิด-19 ทำให้น่าเป็นห่วงในการลงในปี 2024

เราจะต้องสร้างการลงทุนใหม่อย่างมีกลยุทธ์อย่างการเน้นขับเคลื่อนธุรกิจที่มีเเนวโน้มเติบโต เช่น ธุรกิจยานยนต์ เเละEV เพื่อให้เศรษฐกิจไทย “เดินหน้า เข็มแข็ง และมีภูมิคุ้มกัน”

G : Government spending โดย คุณศิริกัญญา ต้นสกุล สมาชิกสภาผู้เเทนราษฎรเเบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคก้าวไกลเเละหัวหน้าทีมเศรษฐกิจของพรรคก้าวไกล

จริงๆเเล้วตัวของ Government consumption (G) นั้นจะไม่ได้เท่ากับ งบประมาณรายจ่ายประจำปี (Budget) ซะทีเดียวเนื่องจาก Budget ประกอบด้วยรายจ่ายประจำ รายจ่ายลงทุน เงินคืนต้นเงินกู้ เงินชดใช้เงินคงคลัง ซึ่ง G นั้นก็คือรายจ่ายประจำของรัฐนั้นเอง

การศึกษาเป็นด้านที่รัฐใช้จ่ายมากที่สุดหากแบ่งตาม function Education มากที่สุดอยู่ที่ 27 % รองลงมาคือด้านสาธารณสุขมีสัดส่วนอยู่ที่ 25% เเละส่วนของเงินเดือนค่าจ้างบุคลากรของภาครัฐจะถือว่ามีค่าใช้จ่ายมากที่สุดถึง 1.69 ล้านล้านหากเเบ่งตามประเภทค่าใช้จ่าย โดยในปัจจุบันมีบุคลากรภาครัฐมากถึง 2.9 ล้านคนหากเพิ่มเงินเดือนให้บุคลากรภาครัฐก็จะทำให้ G เพิ่มขึ้นและจะทำให้ GDP เพิ่มขึ้นได้โดยตรงแต่สุดท้ายแล้วก็จะมีผลที่ตามมาคืองบประมาณมหาศาลถูกใช้ในเงินเดือนข้าราชการเมื่อดูจากเเนวโน้มของจำนวนบุคลากรภาครัฐในระยะ 10 ปีที่ผ่านมาอีกไม่เกิน10ปีงบบำนาญก็จะแซงงบเงินเดือนข้าราชการซึ่งเป็นเรื่องที่ประเทศต้องแก้ไข

NX : Net Export โดย คุณดุษณีญา อินทนุพัฒน์ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชญ์

การค้าระหว่างประเทศเกิดขึ้นมาจากความได้เปรียบในการผลิตเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆหมายความว่าถ้าประเทศไหนสามารถผลิตสินค้าเเละบริการได้มีประสิทธิภาพโดยมีต้นทุนที่ถูกกว่าเเละตอบสนองความต้องการภายในประเทศอย่างเพียงพอเเล้วก็จะเกิดการกระจายสินค้าส่วนเกินออกไปขายังยนอกประเทศ

การค้าระหว่างประเทศ การแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ และทุน ข้ามพรมแดนระหว่างประเทศของประเทศไทยในปี 2023 นั้นขาดดุลทางการค้าเป็นมูลค่าทั้งหมด 302,925.9 ล้านบาทโดยมีประเทศคู่ค้าสำคัญอยู่ 10 ประเทศตามลับดับมูลค่าสินค้ามี จีน สหัฐอเมริกา ญี่ปุ่น มาเลเซีย ไต้หวัน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เวียดนาม ออสเตรเลีย สังคโปร์ อินโดนีเซีย 

กระทรวงพาณิชย์ . ตลาดการส่งออกสำคัญของไทย ปี 2563-2566 [Image]. สืบค้นเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567, จาก tradereport.moc.go.th/TradeThai.aspx

Free Trade / Liberalization (การค้าระหว่างประเทศเเบบเสรี) 

การซื้อหรือขายสินค้าโดยเสรีและบริการจากประเทศอื่นๆได้โดยไม่มีข้อจำกัดจากรัฐบาลเเต่ในบางกรณีรัฐบาลในประเทศอาจเข้ามาเเทรกเเซงเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประเทศโดยการใช้ “นโยบายการค้า” ซึ่งอาจทำให้เกิดการกีดกันทางการค้าได้ดังนั้นการค้าระหว่างประเทศมีความเสรีได้ ต้องอยู่บนกติกาที่ทุกประเทศเห็นชอบร่วมกัน เพื่อไม่ให้เกิดการกิดกันการค้า จนกลายเป็นอุปสรรคทางการค้าระหว่างประเทศในอนาคต

WTO องค์กรระหว่างประเทศที่มีบทบาทในการกำกับดูแลการค้าระหว่างประเทศ เป็นเวทีในการเจรจาลดอุปสรรคเเละการระงับข้อพิพาทต่างๆ รวมถึงตรวจสอบและทบทวนนโยบายการค้าของประเทศสมาชิก

สุดท้ายนี้ผมคิดว่าการที่เราจะนำความรู้ทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์มาปรับใช้กับโลกความเป็นจริงได้นั้นนอกจากจะต้องมีความรู้ทางเศรษฐศาสตร์เเล้วยังจำเป็นต้องมีความรู้ในศาสตร์ด้านอื่นๆอย่าง การเมือง ภูมิศาสตร์ เเละ เทคโนโลยี จึงจะสามารถนำมาวิเคราะห์สถานการณ์ในโลกความเป็นได้อย่างมีประสิทธิภาพเเละนอกจากนั้นการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับปัญหาด้านเศรษฐกิจเเละการเงินให้กับผู้คนก็เป็นเรื่องสำคัญดังนั้นอีกทักษะที่นักเศรษฐศาสตร์ในปัจจุบันต้องมีก็คือทักษะด้านการสื่อสารนั้นเอง

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา MACROECONOMIC THEORY II ของ อาจารย์ ดร. เสาวลักษณ์ ด้วงอิน

.

นายธนภูมิ อุปริกชาติพงษ์

นักศึกษาปริญญาตรี คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ECON-CMU