อุตสาหกรรม GameFI กับการสร้างรายได้จากเกม

อุตสาหกรรม GameFI กับการสร้างรายได้จากเกม

GameFi คืออะไร? GameFi (ย่อมาจาก Game + Defi) คือ เกมที่ลักษณะ Play to earn ซึ่งเงินในเกมสามารถนำมาแลกเปลี่ยนเป็นเหรียญ Cryptocurrency ได้สามารถซื้อขายตัวละครต่าง ๆ ในรูปของเงิน Cryptocurrency ได้มีการใช้เงินจริงเพื่อได้รับตัวละครต่าง ๆ ในกรณีนี้ขอยกตัวอย่างระบบเกมของ Axie infinity  ที่เราสามารถสร้างรายได้จากการเล่นเกม โดยประกอบด้วย 3 วิธีหลัก ๆ ได้แก่ 1. Farming – สาย  PVE เน้นผ่านด่านเพื่อสร้างรายได้ ( รายได้เฉลี่ยต่อวันค่อนข้างชัดเจน ) – สาย PVP การเป็นการเล่นเพื่อการแข่งขัน ( รายได้ขึ้นกับความสามารถในการแข่งขัน )             โดยในปกติแล้วสาย PVE จะสร้างรายได้ ได้น้อยกว่า สาย PVP ซึ่งสาย PVP มักจะมีการลงทุนเงินในมูลค่าที่สูงกว่าสาย […]

GameFi คืออะไร?

GameFi (ย่อมาจาก Game + Defi) คือ เกมที่ลักษณะ Play to earn ซึ่งเงินในเกมสามารถนำมาแลกเปลี่ยนเป็นเหรียญ Cryptocurrency ได้สามารถซื้อขายตัวละครต่าง ๆ ในรูปของเงิน Cryptocurrency ได้มีการใช้เงินจริงเพื่อได้รับตัวละครต่าง ๆ ในกรณีนี้ขอยกตัวอย่างระบบเกมของ Axie infinity  ที่เราสามารถสร้างรายได้จากการเล่นเกม โดยประกอบด้วย 3 วิธีหลัก ๆ ได้แก่

1. Farming

– สาย  PVE เน้นผ่านด่านเพื่อสร้างรายได้ ( รายได้เฉลี่ยต่อวันค่อนข้างชัดเจน )

– สาย PVP การเป็นการเล่นเพื่อการแข่งขัน ( รายได้ขึ้นกับความสามารถในการแข่งขัน )

            โดยในปกติแล้วสาย PVE จะสร้างรายได้ ได้น้อยกว่า สาย PVP ซึ่งสาย PVP มักจะมีการลงทุนเงินในมูลค่าที่สูงกว่าสาย PVE ทำให้สามารถสร้างรายได้ ๆ มากกว่า

2. Breeder

คนที่สร้างรายรูปแบบนี้ หารายได้จากการผลิตตัวละครขึ้นมา อย่างในเกม Axie เองก็จะมีการเงินจาก AXS และ SLP ในการลงทุนสร้างตัวละคร ถ้าโชคดีก็จะได้รับตัวหายาก ( ตัวละคร Meta) ซึ่งจะทำกำไรได้สูงกว่าตัวละครแบบทั่วไป ( ตัวละคร Floor )

3. Trade

สายซื้อ – ขายตัวละครหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อเก็งกำไรจากการลงทุนในสินทรัพย์ ( ตัวละคร หรือ อุปรณ์ต่าง ๆ จัดเป็น NFT รูปแบบหนึ่ง )

Game Fi ทำให้เกิดธุรกิจ Guild Game ขึ้น

Guild Game Bussiness คือ ธุรกิจที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างผู้ที่มีเงินหรือ NFT เป็นของตัวเองจำนวนมากกับนักเล่นเกม เพื่อสร้างรายได้จากธุรกิจ GameFi โดยมีการแชร์รายได้อย่างเป็นสัดส่วน

Guild Game Bussiness ก็นำมาสู่การเกิดอาชีพใหม่อย่าง Scholar

Scholar คือ ระบบจ้างเล่นเกมในโลก GameFi โดยผู้เล่นจะได้กำไรจากการหักส่วนแบ่งจากเงินที่ได้รับกับเจ้าของผู้จ้างงาน โดย Scholar สามารถแบ่งได้ 3 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่

1. Scholar ทั่วไป คนกลุ่มนี้จะได้รายรับค่อนข้างต่ำกว่ากลุ่มอื่นเน้นเล่นผ่านด่านทั่วไป

2. Semi Hardcore scholar เป็นคนกลุ่มที่พอสามารถจะไปสร้างตัวละครไปแข่งขันกับคนอื่นได้ มีลักษณะคล้ายนักกีฬา E-sport แต่ยังไม่ถึงขั้นที่สุด

3. Hardcore scholar เป็นคนระดับผู้แข่งขันมีความสามารถในการเล่นเกมสูงสร้างรายได้ได้มากกว่า

ทั้งนี้การหักเปอร์เซ็นต์ขึ้นกับบริษัทที่เซ็นสัญญาและระดับของผู้เล่น Scholar

หากอยากทำงานสายการลงทุนใน GameFi เราจะมีตำแหน่งใดบ้างที่จะสามารถไปเข่าร่วมได้

1. Scounter คือ คนที่หาเกมก่อนการเลือกการลงทุน

2. Data Base คือ บุคคลผู้หาข้อมูลวิธีการที่จะเล่นให้ได้กำไรมากที่สุดในการเล่นต่อวัน

3. Human Resource คือ หาบุคคลากรในการเล่นเกม รวมทั้งรับสมัครตำแหน่งงานอื่น ๆ

4. Support คือ คนที่คอยตอบคำถาม รับส่งไอดีต่าง ๆ (ปกติเข้าเกมด้วยการใช้ QR code)

5. Finance คือ คนคอยจัดการเรื่องบัญชี โอนเงินเข้าพนักงาน รายรับ และรายจ่ายต่าง ๆ

คำถามถัดไป คือ เราจะมีวิธีในการตัดสินใจลงทุนในเกมต่าง ๆ อย่างไรได้บ้าง

เราสามารถพิจารณารายละเอียดต่าง ๆ ก่อนการลงทุนใน GameFi  ได้แก่ ต้นทุนในการเล่น, ROI ( Return on Investment ), รายได้เฉลี่ยต่อเดือน,  รูปแบบของเกม , ความยากง่ายของเกม, ระยะการเล่นต่อวัน, อุปกรณ์ในการเล่น, ระบบ burn token ของเกม,  Road map ของเกม ระยะเวลาในการทำเกม, Token ใช้ Marketplace ไหนในการแลกเปลี่ยน และ กระแสของเกม 

       Life’s Cycle ของ GameFi แบ่งออกเป็น 5 ช่วง ดังนี้

ช่วงที่ 1 ช่วงโปรโมทเกมให้คนมาเล่นจำนวนมาก

ช่วงที่ 2 ช่วงราคาเหรียญขึ้น

ช่วงที่ 3 ช่วงจุดอิ่มตัว เป็นช่วงที่ระบบเกมไม่สามารถ Burn Token ได้ทัน ( แล้วแต่เกม )

ช่วงที่ 4 ช่วงราคาล่วง ทำให้คนเกิดอาการหวาดกลัวเทขายตัวละคร อุปกรณ์ต่าง ๆ

ช่วงที่ 5 ช่วงตลาดพัง

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

https://www.sansiri.com/content/view/เทคนิคการลงทุน-gamefi-คืออะไร-เล่นเกมแล้วได้เงินจริงหรือ/th

https://riccowealth.co/2022/03/04/guild-คือ-แพลตฟอร์มที่ทำหน้า/

None