Giga Press

Giga Press

ที่มาภาพ : Screenshot from IDRA’s YouTube channel Giga Press เป็นระบบการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าที่เร็วมากของ Tesla โดยกระบวนการผลิตเร็วของ Tesla เรียกว่า Gigacasting โดยกระบวยการ Gigacasting เป็นกระบวนการหล่อชิ้นส่วนขนาดใหญ่ของรถยนต์ด้วยอะลูมิเนียมจากชิ้นส่วนเล็กๆหลายชิ้น ซึ่งหลักการทำงานคือการนำอะลูมิเนียมหลอมเหลวขนาดใหญ่จากการนำไปให้ความร้อนถึง 850 องศาเซลเซียสและนำไปพักไว้ในเตาอุ่นที่มีอุณหภูมิ 750 – 850 องศาเซลเซียส ในเตาไฟฟ้าที่มีกำลังมากถึง 400 กิโลวัตต์ ภายใต้บรรยากาศที่เต็มไปด้วยไนโตรเจนมาทำการอัดลงในแม่พิมพ์ภายใต้แรงกดดันมหาศาล โดยแม่พิมพ์จะถูกเคลือบด้วยสารหล่อลื่นจากน้ำมันถั่วเหลืองเพื่อป้องกันชิ้นงานติดกับแม่พิมพ์ และทำการปล่อยออกมาเพื่อให้ส่วนประกอบที่ขึ้นรูปใหม่คายความร้อนออกมาอย่างรวดเร็วที่มาภาพ : Tesla Reportedly Makes One-Piece Giga Casting Breakthrough (insideevs.com) Tesla เป็นบริษัทแรกที่นำกระบวนการ Gigacasting มาใช้ในการผลิตรถยนต์ โดยใช้ในการผลิตชิ้นส่วนของโครงสร้างหลักของรถยนต์ Model Y ต่อมาในปี 2020 มีบริษัทที่นำกระบวนการ Gigacasting มาใช้ในประเทศจีน เยอรมนี และสหรัฐอเมริกา และในปี […]

ที่มาภาพ : Screenshot from IDRA’s YouTube channel

Giga Press เป็นระบบการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าที่เร็วมากของ Tesla โดยกระบวนการผลิตเร็วของ Tesla เรียกว่า Gigacasting โดยกระบวยการ Gigacasting เป็นกระบวนการหล่อชิ้นส่วนขนาดใหญ่ของรถยนต์ด้วยอะลูมิเนียมจากชิ้นส่วนเล็กๆหลายชิ้น ซึ่งหลักการทำงานคือการนำอะลูมิเนียมหลอมเหลวขนาดใหญ่จากการนำไปให้ความร้อนถึง 850 องศาเซลเซียสและนำไปพักไว้ในเตาอุ่นที่มีอุณหภูมิ 750 – 850 องศาเซลเซียส ในเตาไฟฟ้าที่มีกำลังมากถึง 400 กิโลวัตต์ ภายใต้บรรยากาศที่เต็มไปด้วยไนโตรเจนมาทำการอัดลงในแม่พิมพ์ภายใต้แรงกดดันมหาศาล โดยแม่พิมพ์จะถูกเคลือบด้วยสารหล่อลื่นจากน้ำมันถั่วเหลืองเพื่อป้องกันชิ้นงานติดกับแม่พิมพ์ และทำการปล่อยออกมาเพื่อให้ส่วนประกอบที่ขึ้นรูปใหม่คายความร้อนออกมาอย่างรวดเร็ว

ที่มาภาพ : Tesla Reportedly Makes One-Piece Giga Casting Breakthrough (insideevs.com)

Tesla เป็นบริษัทแรกที่นำกระบวนการ Gigacasting มาใช้ในการผลิตรถยนต์ โดยใช้ในการผลิตชิ้นส่วนของโครงสร้างหลักของรถยนต์ Model Y ต่อมาในปี 2020 มีบริษัทที่นำกระบวนการ Gigacasting มาใช้ในประเทศจีน เยอรมนี และสหรัฐอเมริกา และในปี 2023 1 ในบริษัทที่มีการเปิดตัว Giga Press นั่นคือ Toyota ซึ่ง Giga Press ของ Toyota ประสบความสำเร็จในการผลิต 1 ใน 3 ของส่วนท้ายของรถยนต์ไฟฟ้า โดย Toyota มีเป้าหมายในการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าถึง 3.5 ล้านคันต่อปี อย่างไรก็ตาม Toyota ไม่ใช่ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่เพียงรายเดียวที่ซื้อกระบวนการ Gigacasting ไปใช้งาน แต่ยังมี NIO , Zeekr , XPeng , Ford , BMW , Mercedes-Benz และ Volkswagen ที่มีการใช้และประกาศที่จะใช้กระบวน Gigacasting ในการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า นอกจากนี้ยังมี Hyundai ที่ได้มีการเปิดตัวระบบการผลิตรถเร็วมากของตัวเองที่เรียกว่า Hypercast อีกด้วย

ที่มาภาพ : Next-generation BEV practical demonstration line (youtube.com)

จากที่ได้กล่าวมาข้างต้นจะเห็นถึงหลักการทำงานของกระบวนการ Gigacasting และการนำกระบวนการนี้ไปใช้ที่แพร่หลายในบริษัท โดยประโยชน์จาการใช้กระบวนการ Gigacasting คือ ลดต้นทุนการผลิตจากการใช้ชิ้นส่วนจากอะลูมิเนียมได้อย่างมาก , เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตชิ้นส่วนอะลูมิเนียมขนาดใหญ่ได้อย่างเหมาะสมและรวดเร็วมากขึ้น และปรับปรุงคุณภาพในการผลิตชิ้นส่วนอะลูมิเนียมให้มีความทนทานและแข็งแรงมากขึ้น
แต่กระบวนการ Gigacasting ไม่ได้มีแต่ข้อดี แต่ยังมีข้อเสียอยู่ด้วย นั่นคือ ต้นทุนในการลงทุนจำเป็นต้องใช้เงินทุนจำนวนมากเนื่องจากเครื่องจักมีราคาแพง , การผลิตชิ้นส่วนขนาดใหญ่มีความซับซ้อนสูง และการใช้กระบวนการ Gigacasting ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก เนื่องจากการผลิตมีการใช้พลังงานและทรัพยากรจำนวนมาก

ที่มา : Brandage : Toyota เปิดตัว Giga Press ระบบการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าเร็วปานสายฟ้า ตาม Tesla
ที่มา : เทคโนโลยีหล่อตัวถังแบบ GIGA PRESS คืออนาคตของรถยนต์ไฟฟ้า รุ่นใหม่ๆ ? – รถใหม่วันนี้ ข่าวรถยนต์ EV ราคารถยนต์ไฟฟ้า และ สันดาป (car250.com)
ที่มา : “GIGA PRESS” ตัวเปลี่ยนเกมวงการยานยนต์ (autoinfo.co.th)

งานเขียนนี้
เป็นส่วนหนึ่งของวิชา 751309 Macro Economic 2
ซึ่งสอนโดย ผศ.ดร. ณพล หงสกุลวสุ
คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

งานชิ้นนี้ เขียนโดย
นาย ธนินท์รัฐ พลภัทรเศรษฐ์ 651610185

None