กว่าจะมีวันนี้ ‘ไม่ง่าย’ ย้อนรอยสิทธิ LGBTQ+ ในชิลี ชาติล่าสุดที่มี ก.ม. ‘สมรสเท่าเทียม’
รัฐสภาชิลีผ่านร่างกฎหมายสมรสเพศเดียวกัน สามารถจดทะเบียนและรับบุตรบุญธรรมอย่างถูกต้องตามกฎหมาย พร้อมแก้ไขภาษาแบ่งแยกเพศในกฎหมายดังกล่าว แต่ก่อนจะถึงวันนี้ ชิลีได้ขับเคลื่อนสิทธิความเท่าเทียมทางเพศมาหลาย 10 ปี พร้อมกับชาติอื่นๆ ในลาตินอเมริกา ไม่กี่ปีที่ผ่านมานับว่าเป็นช่วงเวลาแห่งความ ‘ก้าวหน้า’ ด้านความเท่าเทียมทางเพศในระดับสากลและหลากหลายมิติ ล่าสุดเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม รัฐสภาชิลีมีมติเห็นชอบผ่านร่างกฎหมาย ‘สมรสเพศเดียวกัน’ เปิดโอกาสให้คู่รัก LGBTQ+ จดทะเบียนสมรส รับบุตรบุญธรรมได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย และมีการ ‘แก้ไขภาษา’ ในกฎหมายที่มีการระบุเพศของคู่สมรสและผู้ปกครอง เพื่อสร้างความเท่าเทียมให้กับบุคคลที่หลากหลาย การผ่านร่างกฎหมายฉบับนี้เกิดขึ้นจากความพยายามผลักดันมายาวนาน โดยที่มีการผลักดันเสนอกฎหมายสมรสเท่าเทียมทางเพศในชิลีตั้งแต่ในปี 2017 โดยมิเชล บาเชเล (Michelle Bachelet) อดีตประธานาธิบดีหญิงคนแรกของชิลีจากพรรคสังคมนิยม ได้เสนอต่อรัฐสภาสมัยที่ยังดำรงตำแหน่ง แม้จะเปลี่ยนรัฐบาลในเวลาต่อมา แต่เซบาสเตียน ปิเญรา (Sebastian Pinera) ประธานาธิบดีคนปัจจุบันจากพรรคอนุรักษนิยมได้ให้การสนับสนุนต่อมาจนผลักดันให้ร่างกฎหมายผ่านรัฐสภาสำเร็จ อย่างไรก็ดี ก่อนความหลากหลายทางเพศในชิลีจะก้าวมาถึงจุดนี้ได้ ผ่านการเรียกร้องและรณรงค์กันมาอย่างยาวนาน โดยกลุ่ม MOVILH ระบุว่าเป็นกลุ่มที่เรียกร้องในประเทศมีกฎหมายสมรสเพศเดียวกันมาตั้งปี 1991 ซึ่งนับเป็นเวลา 30 กว่าปีกว่าความฝันของพวกเขาจะเป็นจริง โดยตลอดหลายสิบปีมานี้ชิลีค่อยๆ ขยับความก้าวหน้าด้านสิทธิทางเพศมาโดยตลอด ในปี 2012 กิจกรรมทางเพศระหว่างเพศเดียวกันได้รับรองให้เป็นสิ่งถูกกฎหมายในชิลี […]
รัฐสภาชิลีผ่านร่างกฎหมายสมรสเพศเดียวกัน สามารถจดทะเบียนและรับบุตรบุญธรรมอย่างถูกต้องตามกฎหมาย พร้อมแก้ไขภาษาแบ่งแยกเพศในกฎหมายดังกล่าว แต่ก่อนจะถึงวันนี้ ชิลีได้ขับเคลื่อนสิทธิความเท่าเทียมทางเพศมาหลาย 10 ปี พร้อมกับชาติอื่นๆ ในลาตินอเมริกา
ไม่กี่ปีที่ผ่านมานับว่าเป็นช่วงเวลาแห่งความ ‘ก้าวหน้า’ ด้านความเท่าเทียมทางเพศในระดับสากลและหลากหลายมิติ ล่าสุดเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม รัฐสภาชิลีมีมติเห็นชอบผ่านร่างกฎหมาย ‘สมรสเพศเดียวกัน’ เปิดโอกาสให้คู่รัก LGBTQ+ จดทะเบียนสมรส รับบุตรบุญธรรมได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย และมีการ ‘แก้ไขภาษา’ ในกฎหมายที่มีการระบุเพศของคู่สมรสและผู้ปกครอง เพื่อสร้างความเท่าเทียมให้กับบุคคลที่หลากหลาย
การผ่านร่างกฎหมายฉบับนี้เกิดขึ้นจากความพยายามผลักดันมายาวนาน
โดยที่มีการผลักดันเสนอกฎหมายสมรสเท่าเทียมทางเพศในชิลีตั้งแต่ในปี 2017 โดยมิเชล บาเชเล (Michelle Bachelet) อดีตประธานาธิบดีหญิงคนแรกของชิลีจากพรรคสังคมนิยม ได้เสนอต่อรัฐสภาสมัยที่ยังดำรงตำแหน่ง แม้จะเปลี่ยนรัฐบาลในเวลาต่อมา แต่เซบาสเตียน ปิเญรา (Sebastian Pinera) ประธานาธิบดีคนปัจจุบันจากพรรคอนุรักษนิยมได้ให้การสนับสนุนต่อมาจนผลักดันให้ร่างกฎหมายผ่านรัฐสภาสำเร็จ
อย่างไรก็ดี ก่อนความหลากหลายทางเพศในชิลีจะก้าวมาถึงจุดนี้ได้ ผ่านการเรียกร้องและรณรงค์กันมาอย่างยาวนาน โดยกลุ่ม MOVILH ระบุว่าเป็นกลุ่มที่เรียกร้องในประเทศมีกฎหมายสมรสเพศเดียวกันมาตั้งปี 1991 ซึ่งนับเป็นเวลา 30 กว่าปีกว่าความฝันของพวกเขาจะเป็นจริง โดยตลอดหลายสิบปีมานี้ชิลีค่อยๆ ขยับความก้าวหน้าด้านสิทธิทางเพศมาโดยตลอด
ในปี 2012 กิจกรรมทางเพศระหว่างเพศเดียวกันได้รับรองให้เป็นสิ่งถูกกฎหมายในชิลี
ส่งผลให้ความรุนแรงต่อกลุ่มหลากหลายทางเพศ อาชญากรรมทางเพศจากความเกลียดชังทางเพศกลายเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายมาตั้งแต่นั้น ในปีต่อมารัฐสภาชิลียังผ่านร่างกฎหมายให้กองทัพอนุญาตเกย์ เลสเบี้ยน ไบเซ็กชวล และคนข้ามเพศ เป็นส่วนหนึ่งของกองทัพได้อย่างเปิดเผย หลังจากนั้นไม่นานรัฐสภาชิลียังผ่านกฎหมายอนุญาตให้คนหลากหลายทางเพศบริจาคโลหิตได้โดยไม่มีข้อจำกัดทางเพศอีกด้วย
และก่อนที่รัฐสภาจะเห็นชอบร่างกฎหมายสมรสเพศเดียวกันในปีนี้ เมื่อปี 2015 ชิลีได้ให้การคุ้มครองทางกฎหมายกับคู่รัก LGBTQ+ ในระดับครัวเรือนภายใต้กฎหมายแรงงาน แต่ยังถูกยกเว้นสิทธิในการรับเลี้ยงบุตรและจดทะเบียนสมรสอยู่ และ 4 ปีหลังจากนั้นชิลียังได้อนุญาตให้ผู้คนที่มีอายุมากกว่า 14 ปีสามารถกำหนดอัตลักษณ์ทางเพศของตัวเองในเอกสารของทางการโดยที่ไม่มีข้อกำหนดได้
การต่อสู้เพื่อสิทธิทางเพศของชิลีเป็นกระบวนการที่ยาวนาน
ในการเรียกร้องเพื่อขยับขยายสิทธิความเท่าเทียมของทุกเพศจนถึงปัจจุบัน เช่นเดียวกับหลายชาติในลาตินอเมริกาที่สิทธิทางเพศเริ่มเติบโตและเบ่งบาน อาร์เจนตินาเป็นชาติแรกที่การสมรสเพศเดียวกันถูกกฎหมายตั้งแต่ปี 2010 ทำให้คู่รัก LGBTQ+ ในอาร์เจนตินากว่า 20,000 คู่จดทะเบียนสมรสอย่างถูกต้องในเวลานั้น
กฎหมายฉบับนั้นของอาร์เจนตินาเป็นแรงบันดาลใจในการขับเคลื่อนความเท่าเทียมทางเพศของชาติอื่นๆ ในลาตินอเมริกา ปัจจุบัน บราซิล อุรุกวัย โคลอมเบีย เอกวาดอร์ คอสตาริกา และ 14 รัฐในเม็กซิโก อนุญาตให้เพศเดียวกันสมรสอย่างถูกต้องตามกฎหมายในก่อนหน้านี้ และชิลีได้เข้ามาเป็นชาติล่าสุดในอเมริกาใต้ที่รับรองความเท่าเทียมทางเพศตามกฎหมาย
ปัจจุบันมี 31 ชาติทั่วโลกที่กฎหมายรับรองการสมรสของเพศเดียวกันอย่างถูกต้อง
ในประเทศไทยเราเองก็มีการเรียกร้องให้ปรับเปลี่ยน พ.ร.บ.การสมรสเพื่อเปิดให้ทุกเพศสามารถแต่งงานได้อย่างถูกต้อง โดยก่อนหน้านี้มีการยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยว่าเนื้อหาในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.) มาตรา 1448 ที่กำหนดเรื่องการรับรองสมรสเฉพาะชาย-หญิงนั้น ขัดต่อรัฐธรรมนูญไทยในประเด็นศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาคของบุคคลหรือไม่ เพื่อเป็นรากฐานในการเรียกร้องกฎหมายสมรสเท่าเทียมต่อไป
ทั้งนี้ กลุ่มรณรงค์สมรสเท่าเทียมเคยเสนอให้รัฐสภาพิจารณา ‘ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1448’ ซึ่งถูกเรียกสั้นๆ ว่า ‘พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม’ โดยเสนอให้แก้ไขภาษาในมาตราดังกล่าว ให้ตัดคำว่าชาย-หญิงออกไป และใช้คำว่า ‘บุคคลทั้งสอง’ แทน ก็จะทำให้กลุ่มหลากหลายทางเพศมีสิทธิในการสมรสเทียบเท่าคู่สมรสชายหญิงที่มีระบุไว้แต่เดิม และไม่จำเป็นต้องใช้ร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิตที่รัฐบาลสนับสนุน
พ.ร.บ.คู่ชีวิต กีดกันสิทธิของคู่สมรสเพศเดียวกัน
เหตุผลเพราะผู้รณรงค์กลุ่มนี้มองว่าเนื้อหาในร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต กีดกันสิทธิของคู่สมรสเพศเดียวกันในบางด้านและไม่เท่าเทียมกับคู่สมรสชายหญิง เช่น การกำหนดอายุขั้นต่ำของผู้สามารถจดทะเบียนสมรส และการเข้าถึงสิทธิประโยชน์และสวัสดิการของรัฐตามกฎหมายกำหนด แต่การแก้ไข ป.พ.พ.มาตรา 1448 จะครอบคลุมความหลากหลายของคู่รัก LGBTQ+ มากกว่า
แต่อย่างที่เราทราบกันแล้วว่าในวันที่ 17 พฤศจิกายน ศาลรัฐธรรมนูญได้มีมติเป็นเอกฉันท์ว่ากฎหมายแพ่งมาตราดังกล่าวไม่ขัดแย้งต่อรัฐธรรมนูญ โดยระบุว่า “มิได้มีข้อความใดที่คุ้มครองสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลไว้เป็นการเฉพาะ ไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยในส่วนนี้”
คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าวมีการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางถึงความเหมาะสม โดยเฉพาะในกลุ่มผู้รณรงค์ด้านความเท่าเทียมทางเพศ ซึ่งหลายคนมองว่านี่เป็นการ ‘ลดทอน’ คุณค่าของคนหลากหลายทางเพศ และเป็นการแบ่งแยกความเป็นมนุษย์ออกจากกัน
อ้างอิง:
- france24. Chile’ s Congress approves bill to legalize same-sex marriage. https://bit.ly/3DxtcVW
- Washington post. Chile’ s congress recognizes same-sex marriage, joining Latin America’ s shift toward gay rights. https://wapo.st/3oB6F6b
- Wikipedia. LGBT rights in Chile. https://bit.ly/3ybwkWA
- BBC. Changing times in Chile? > https://bbc.in/3oCbhco
- Wilson center. The State of LGBTQ+ Rights in Latin America. https://bit.ly/3pEm0Co
- Prachachat. สมรสเท่าเทียม: ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย สมรสเฉพาะชายหญิงไม่ขัดรัฐธรรมนูญ. https://bit.ly/307PAYb