Space Tourism : การท่องเที่ยวอวกาศ

Space Tourism : การท่องเที่ยวอวกาศ

การท่องเที่ยวในอวกาศเป็นสิ่งที่น่าเหลือเชื่อ แต่หากคุณได้มีโอกาสสักครั้งก็ต้องมีคำถามตามมามากมายอย่างแน่นอนสำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวใหม่นี้ ไม่ว่าจะราคาการเดินทาง รวมไปถึงด้านความปลอดภัย

Space Tourism

ความหมาย

  • การท่องเที่ยวในอวกาศ มีวัตถุประสงค์หลักเป็นการเดินทางออกไปเพื่อพักผ่อนหย่อนใจ ซึ่งจะมีความแตกต่างจากการเดินทางสำรวจอวกาศที่เน้นไปทางการศึกษา วิจัย และค้นคว้า จุดเริ่มของการจ่ายเงินเพื่อเดินทางออกนอกโลกนั้นเริ่มขึ้นจาก Dennis Tito ที่ยอมจ่ายเงินสูงถึง 20ล้านเหรียญเพื่อที่จะได้ร่วมบินในยาน Soyuz ของประเทศรัสเซียมุ่งหน้าสู่ International Space Station (ISS) ในปี2001 หลังจากนั้นได้เริ่มมีผู้ที่สนใจยอมจ่ายเงินก้อนโตเพื่อที่จะเดินทาง จึงเกิดตลาดใหม่สำหรับการท่องเที่ยวอวกาศที่มีทั้งอยู่ใต้วงโคจรและบนวงโคจรโลก

.

ราคาและรูปแบบ

ราคาของการท่องเที่ยวถึงแม้จะเริ่มมีการแข่งขันกันในหลากหลายบริษัท แต่ราคาการเดินทางก็ยังไม่ถูกเสียทีเดียว เนื่องจากยังมีข้อจำกัดในหลายๆด้าน

  1. การเดินทางภายใต้วงโคจร( Suborbital ) โดยจะเริ่มบินขึ้นไปประมาณ 100ไมล์เหนือระดับน้ำทะเลและกลับลงมาในเวลาไม่นาน ราคาเริ่มต้นที่ $100,000-$250,000 ต่อคน

  2. การเดินทางบนวงโคจรแบบที่เราสามารถเดินทางหมุนไปรอบโลกได้( Orbital )ซึ่งจะพาผู้โดยสารขึ้นไปอยู่บนชั้นวงโคจรชั้นต่ำของโลกที่อยู่สูงประมาณ 200-250ไมล์เหนือระดับน้ำทะเล ราคาเริ่มต้นจะค่อนข้างสูงแบบแรกมากเนื่องจากสามารถอยู่บนเครื่องได้นานหลายชั่วโมงก่อนที่จะกลับลงมา โดยจะเริ่มต้นที่ $200-$300 ล้านดอลลาร์ต่อคน

.

คุณสมบัติของผู้เดินทาง

ก่อนที่จะขึ้นไปท่องเที่ยวบนอวกาศได้อย่างสบายใจนั้น ทุกคนต้องผ่านการฝึกฝนที่แสนจะเข้มงวดก่อนซึ่งมีทั้งการอบรมออนไลน์หลายชั่วโมงและการฝึกตัวต่อตัวหลายสัปดาห์เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมและความปลอดภัยก่อนการเดินทาง และคุณสมบัติเบื้องต้นก่อนการฝึกมีดังนี้

  1. เป็นผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรง และมีอายุมากกว่า 18ปี

  2. ผ่านการทดสอบทางด้านร่างกาย การประเมินทางจิตใจ และผ่านการฝึกอบรม

  3. ผ่านการทดสอบด้านการบิน

  4. ได้รับการตรวจสอบประวัติภูมิหลังและผ่านมาตรฐานด้านความปลอดภัยของผู้เดินทาง

.

บริษัทที่น่าสนใจเปิดให้บริการ

ณ ปัจจุบันเริ่มมีบริษัทที่ให้ความสนใจและลงมือทำในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอวกาศนี้มากขึ้นในชีวิตจริง ไม่ว่าจะเป็น SpaceX, Blue Origin, and Virgin Galactic ที่เป็นบริษัทที่มุ่งเน้นดำเนินการบินในอวกาศเป็นหลัก ซึ่งทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงสู่โลกปัจจุบันเป็นอย่างมาก

.

SpaceX

  • เป็นบริษัทเอกชนที่ผลิตและปล่อยจรวดสู่อวกาศ ในสถานะการท่องเที่ยวอวกาศนั้นเป็นบริษัทที่ได้รับผลตอบแทนและประสบความสำเร็จสูงที่สุด ผู้ก่อตั้ง คือ Elon Musk ที่ให้บริการทั้งในด้านการออกแบบ การผลิต การปล่อยจรวดและยานอวกาศทั้งในเชิงพาณิชย์ เช่นการท่องเที่ยว หรือเชิงภาครัฐ

  • การพัฒนาระบบการขนส่งและยานอวกาศของ SpaceX ไม่ว่าจะเป็น Falcon 9, Falcon Heavy, Dragon, Starlink, and Falcon Heavy ล้วนเป็นส่วนหนึ่งทำให้ส่งดาวเทียมขึ้นไปโคจร ส่งมนุษย์ไปสำรวจดวงจันทร์และดาวอังคาร และยังรวมไปถึงเครือข่ายอินเตอร์เนตสำหรับโลกเราอีกด้วย

.

Blue Origin

  • ผู้ก่อตั้ง คือ Jeff Bezos หรือผู้ก่อตั้ง Amazon.com. นั่นเอง ซึ่งได้มีการพัฒนาจรวด New Glenn ที่สามารถใช้ซ้ำได้ สามารถบรรจุผู้โดยสารได้ถึง 100คนไปยังวงโคจรชั้นต่ำของโลกได้และยังสามารถนำกลับมาบินใหม่ได้มากกว่า 1,000ครั้งโดยที่ไม่ต้องได้รับการปรับปรุงตกแต่งใดๆเพิ่มเติม

  • New Glenn ยังถูกวางแพลนที่จะใช้ในอีกหลายๆกิจกรรม ไม่ว่าจะเป็นการปล่อยดาวเทียม การส่งคนขึ้นไปท่องเที่ยว การสำรวจอวกาศนอกวงโคจร เป็นต้น

.

Virgin Galactic

  • เป็นบริษัทแรกที่สร้างประวัติศาสตร์ในการเดินทางท่องเที่ยวนอกโลก หรือก็คือเป็นบริษัทแรกที่ได้รับใบอนุญาตในการส่งผู้โดยสารไปยังนอกโลกและเป็นผู้บุกเบิกอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอวกาศ

  • การเติบโตของการพัฒนา SpaceShipTwo นั้นถึงแม้ว่าจะเป็นยานลำเล็กแต่พัฒนาได้อย่างดี หรือก็คือ ผู้คนใกล้ที่จะได้สัมผัสกับบรรยากาศการท่องอวกาศโดยเร็วๆนี้

.

Conclusion

การท่องเที่ยวในอวกาศเป็นการเดินทางหนึ่งที่ยิ่งใหญ่ ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่ทำออกมาเพื่อทุกคนเนื่องจากในตอนนี้มีราคาการเดินทางที่ค่อนข้างสูงมาก แต่คุณจะได้ออกไปมองโลกในอีกมุมมองหนึ่งที่ไม่ค่อยมีใครได้เห็น ได้มีปฏิสัมพันธ์กับนักบินอวกาศที่ทำในสิ่งที่ตัวเองรัก แต่คุณก็ต้องตัดสินใจให้ดีก่อนที่จะลงทุนไปในเงินก้อนใหญ่และเวลาที่มีค่าก่อนการเดินทาง

.

งานเขียนนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา 751309 Macro Economic 2

ซึ่งสอนโดย ผศ.ดร. ณพล หงสกุลวสุ

คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

งานชิ้นนี้ เขียนโดย นายธนกร เดือนเพ็ญ 651610168

EconCMU