
Space Tourism
Space Tourism คืออะไร? การท่องเที่ยวในอวกาศ ก็คือการท่องเที่ยวนอกโลกเพื่อพักผ่อน ซึ่งตอนนี้รูปแบบการบินไปท่องเที่ยวในอวกาศมี 2 ประเภทหลัก ๆ คือ Suborbital Filght และ Orbital Filght และถึงแม้จะมีแผนการสำหรับภารกิจท่องเที่ยวดวงจันทร์ที่จะเกิดขึ้นภายในทศวรรษหน้า แต่อย่างไรก็ตามการเดินทางไปท่องเที่ยงดวงจันทร์แบบเต็มรูปแบบยังคงอีกยาวไกล การท่องเที่ยวอวกาศแบบ Suborbital นั้นเข้าถึงได้ง่ายกว่า คุณจะได้รับประสบการณ์ลอยตัวไร้น้ำหนักชั่วคราว และชมวิวโลกจากอวกาศที่ระดับความสูง 100 กิโลเมตรเหนือพื้นผิวโลก ยานอวกาศสำหรับการเดินทางประเภทนี้จะไม่ได้มีการบินโคจร แต่จะพุ่งทะยานออกจากชั้นบรรยากาศของโลกเป็นระยะเวลาหนึ่ง เปรียบเสมือนการกระโดดขึ้นสู่อวกาศ โดยบริษัทอย่าง Blue Origin และ Virgin Galactic ให้บริการเที่ยวบินประเภทนี้ ลองมาเปรียบเทียบกับการท่องเที่ยวอวกาศแบบ Orbital จะเป็นการบินยานอวกาศรอบโลกด้วยความเร็วที่สูงกว่าความเร็วโคจรรอบโลก ซึ่งการเดินทางประเภทนี้ใช้เวลานานกว่าในอวกาศอย่างเห็นได้ชัดและด้านการจัดการก็ซับซ้อนกว่า มีเพียง Space Adventures และ SpaceX เท่านั้นที่ประสบความสำเร็จในการให้บริการเที่ยวบินท่องเที่ยวในวงโคจรของโลก Space Tourism เริ่มต้นขึ้นเมื่อไหร่? จุดเริ่มต้นของการท่องเที่ยวอวกาศเกิดขึ้นจริง ๆ ตั้งแต่ต้นยุคปี 2000 แล้ว โดยนักท่องเที่ยวอวกาศคนแรกเคยขึ้นไปเยือนสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) เป็นเวลา […]
Space Tourism คืออะไร?
-
การท่องเที่ยวในอวกาศ ก็คือการท่องเที่ยวนอกโลกเพื่อพักผ่อน ซึ่งตอนนี้รูปแบบการบินไปท่องเที่ยวในอวกาศมี 2 ประเภทหลัก ๆ คือ Suborbital Filght และ Orbital Filght และถึงแม้จะมีแผนการสำหรับภารกิจท่องเที่ยวดวงจันทร์ที่จะเกิดขึ้นภายในทศวรรษหน้า แต่อย่างไรก็ตามการเดินทางไปท่องเที่ยงดวงจันทร์แบบเต็มรูปแบบยังคงอีกยาวไกล
-
การท่องเที่ยวอวกาศแบบ Suborbital นั้นเข้าถึงได้ง่ายกว่า คุณจะได้รับประสบการณ์ลอยตัวไร้น้ำหนักชั่วคราว และชมวิวโลกจากอวกาศที่ระดับความสูง 100 กิโลเมตรเหนือพื้นผิวโลก ยานอวกาศสำหรับการเดินทางประเภทนี้จะไม่ได้มีการบินโคจร แต่จะพุ่งทะยานออกจากชั้นบรรยากาศของโลกเป็นระยะเวลาหนึ่ง เปรียบเสมือนการกระโดดขึ้นสู่อวกาศ โดยบริษัทอย่าง Blue Origin และ Virgin Galactic ให้บริการเที่ยวบินประเภทนี้
-
ลองมาเปรียบเทียบกับการท่องเที่ยวอวกาศแบบ Orbital จะเป็นการบินยานอวกาศรอบโลกด้วยความเร็วที่สูงกว่าความเร็วโคจรรอบโลก ซึ่งการเดินทางประเภทนี้ใช้เวลานานกว่าในอวกาศอย่างเห็นได้ชัดและด้านการจัดการก็ซับซ้อนกว่า มีเพียง Space Adventures และ SpaceX เท่านั้นที่ประสบความสำเร็จในการให้บริการเที่ยวบินท่องเที่ยวในวงโคจรของโลก
Space Tourism เริ่มต้นขึ้นเมื่อไหร่?
-
จุดเริ่มต้นของการท่องเที่ยวอวกาศเกิดขึ้นจริง ๆ ตั้งแต่ต้นยุคปี 2000 แล้ว โดยนักท่องเที่ยวอวกาศคนแรกเคยขึ้นไปเยือนสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) เป็นเวลา 7 วัน ล่าสุดในปี 2021 ก็มีการท่องเที่ยวอวกาศแบบ Suborbital เกิดขึ้นหลายครั้ง และในปีนี้เองบริษัท Blue Origin ก็เปิดตัว New Shepard ยานอวกาศเชิงพาณิชย์ ซึ่งส่งผู้โดยสารขึ้นไป 32 คนแล้ว!
-
แต่การเดินทางที่เข้าถึงได้ง่ายที่สุดกำลังจะเกิดขึ้นในปี 2024 ด้วยบอลลูนไร้แรงกดที่ชื่อว่า Spaceship Neptune
-
เห็นได้ว่าการท่องเที่ยวในอวกาศไม่ได้เป็นเพียงแค่ฝันอีกต่อไป ตอนนี้เหลือแค่รอเวลาให้ผู้คนเข้าถึงมันมากขึ้นเท่านั้น จากจำนวนการปล่อยจรวดและจำนวนนักท่องเที่ยวอวกาศในช่วงหลายปีที่ผ่านมา พวกเรารู้ได้เลยว่าเทรนด์นี้จะยังมีต่อไป และภายใน 20 ปีข้างหน้าการท่องเที่ยวอวกาศจะกลายเป็นสิ่งที่ทุกคนจับต้องได้มากขึ้น
ใช้เวลานานเท่าไหร่ที่จะเดินทางไปถึงอวกาศ?
-
คำตอบก็คือใช้เวลาเพียง 8 นาที 30 วินาทีเท่านั้นสำหรับจรวดในการทะลุผ่านเส้น Karman ซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตที่หลายคนมองว่าเป็นจุดสิ้นสุดของชั้นบรรยากาศและจุดเริ่มต้นของอวกาศอย่างเป็นทางการ ส่วนยานอวกาศแบบ Suborbital อื่น ๆ อย่างเช่น เครื่องบินอวกาศของ Virgin Galactic ใช้เวลานานเกือบ 90 นาที
ค่าใช้จ่ายในการไปท่องเที่ยวในอวกาศ
-
ปัจจุบันการจองที่นั่งบนเที่ยวบิน Suborbital กับ Virgin Galactic มีราคาสูงถึง 450,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อคน ส่วน Blue Origin นั้น ราคาอาจสูงถึง 28 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เลยทีเดียว!
-
ถึงแม้จะมีการคาดการณ์จากผู้เชี่ยวชาญว่าในอีกทศวรรษข้างหน้า ราคาของเที่ยวบิน Suborbital อาจลดลงเหลือประมาณ 100,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อคน แต่ก็ยังคงเป็นราคาที่เกินเอื้อมสำหรับหลายคน แต่อย่างไรก็ตาม ราคาที่ลดลงนี้จะทำให้การท่องเที่ยวอวกาศเข้าใกล้ความเป็นจริงมากขึ้น
ขั้นตอนของ Space Tourism เป็นอย่างไร?
-
การท่องเที่ยวในอวกาศแตกต่างจากการท่องเที่ยวทั่วไปบนโลกอย่างสิ้นเชิง เที่ยวบินไปอวกาศทุกเที่ยวในตอนนี้จำเป็นต้องจองล่วงหน้าหลายปี และเมื่อคุณลงทะเบียนที่นั่งบนเที่ยวบินเรียบร้อยแล้ว คุณก็จะต้องรอจนกว่าจะถึงเวลานั้น บริษัทที่คุณเลือกเดินทางไปด้วยจะต้องมีการตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณมีร่างกายที่แข็งแรงพอ นั่นคือเหตุผลที่ Virgin Galactic เสนอการฝึกอบรม 12 เดือนและตรวจสุขภาพ 6 เดือนก่อนเที่ยวบิน อีกทั้งยังมีการฝึกอบรมก่อนเที่ยวบินหลายวัน
-
ขั้นตอนเหล่านี้มีความสำคัญเนื่องจากมีแรงกดดันทางกายภาพที่ร่างกายต้องเผชิญเมื่อเข้าสู่และออกจากชั้นบรรยากาศ ซึ่งยังหมายความว่าไม่ใช่ทุกคนที่สามารถเข้าร่วมท่องเที่ยวอวกาศได้ การอนุญาตให้ผู้ที่มีร่างกายไม่พร้อมสำหรับเดินทางถือว่าเป็นการกระทำที่ไร้ความรับผิดชอบอย่างยิ่ง
ข้อดีของ Space Tourism มีอะไรบ้าง?
-
ทำไมการท่องเที่ยวอวกาศถึงดี? คำตอบสำหรับคำถามนี้มีมาหมาย แต่ข้อดีหลัก ๆ คือ การส่งเสริมวิทยาศาสตร์ด้านอวกาศ การพัฒนาการท่องเที่ยวอวกาศเชิงพาณิชย์นำไปสู่การกระตุ้นการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ เพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจของสาธารณชน และก่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ ในยานอวกาศ
ยกระดับการวิจัยทางวิทยาศาสตร์
-
บริษัทที่ให้บริการท่องเที่ยวในอวกาศเหล่านี้พยายามมองหาวิธีการที่ประหยัดและล้ำสมัยในการเดินทางสู่ห้วงจักรวาลอยู่เสมอ พวกเขาย่อมต้องทุ่มเทกับการวิจัย เพราะหากปราศจากการพัฒนาเทคโนโลยีและวิธีการใหม่ ๆ ในอุตสาหกรรมการบินอวกาศ การท่องเที่ยวในอวกาศจะพังไม่เป็นท่าอย่างแน่นอน เพราะฉะนั้นการค้นพบใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นในกระบวนการนี้จึงเป็นประโยชน์ต่อทุกคน และยังสามารถนำไปปรับใช้ในภารกิจอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ได้อีกด้วย
เพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจของสาธารณชนเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ด้านอวกาศ
-
เมื่อจักรวาลเข้าถึงได้ง่ายขึ้นในแต่ละทศวรรษ ความเข้าใจของสาธารณชนเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ด้านอวกาศก็จะเพิ่มสูงขึ้นอย่างแน่นอน ในไม่ช้านี้ อวกาศจะไม่ใช่สิ่งที่อยู่ไกลเกินเอื้อมและไม่ใช่สิ่งที่เราจะไม่มีวันเห็นมัน แต่จะกลายเป็นจุดหมายปลายทางที่มนุษย์จะสามารถเข้าถึงได้ กล่าวคือ การท่องเที่ยวอวกาศมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงมุมมองของมนุษยชาติทั้งหมดที่มีต่อห้วงจักรวาล
การพัฒนานวัตกรรมของยานอวกาศ
-
ธุรกิจการค้าต่าง ๆ มักแสวงหาประสิทธิภาพอยู่เสมอ และในการท่องเที่ยวอวกาศก็หมายถึงการพัฒนาอย่างต่อเนื่องของวิธีการเดินทางสู่อวกาศที่รวดเร็วและดีขึ้นกว่าเดิม บริษัทต่าง ๆ จำนวนมากกำลังร่วมกันพัฒนาในด้านนี้ ความสำเร็จที่เกิดขึ้นจะนำไปสู่อากาศยานและเทคโนโลยีการขับเคลื่อนจรวดที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับภารกิจทางวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ ได้มากมาย
SpaceX
-
“คุณอาจอยากตื่นขึ้นมาตอนเช้าแล้วคิดว่าอนาคตมันจะต้องดีเยี่ยม และทั้งหมดนั่นคือสิ่งที่อารยธรรมแห่งการท่องอวกาศจะเป็น มันเกี่ยวกับการเชื่อมั่นในอนาคตและการคิดว่าอนาคตจะดีกว่าอดีต และผมไม่นึกว่าจะมีอะไรที่น่าตื่นเต้นไปกว่าการออกไปท่องเที่ยวและได้อยู่ท่ามกลางดวงดาว” – Elon Musk
สร้างมนุษยชาติหลากหลายดวงดาว
-
ต่อยอดจากความสำเร็จของ Falcon 9 และ Falcon Heavy บริษัท SpaceX กำลังพัฒนาระบบยานปล่อยรุ่นใหม่ที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ทั้งหมด ทรงพลังที่สุดเท่าที่เคยสร้างมา ซึ่งสามารถพามนุษยชาติไปยังดาวอังคารและปลายทางอื่น ๆ ในระบบสุริยะได้
สร้างประวัติศาสตร์
-
SpaceX ได้รับความสนใจจากทั่วโลกด้วยความสำเร็จอันเป็นประวัติศาสตร์มากมาย เป็นบริษัทเอกชนเพียงแห่งเดียวที่สามารถส่งยานอวกาศกลับจากวงโคจรต่ำของโลก ในปี 2012 ยาน Dragon ของ SpaceX กลายเป็นยานอวกาศเชิงพาณิชย์ลำแรกที่ส่งสินค้าไปและกลับจากสถานีอวกาศนานาชาติ และในปี 2020 SpaceX ก็เป็นบริษัทเอกชนแห่งแรกที่พามนุษยชาติไปยังสถานีอวกาศอีกด้วย
การนำกลับมาใช้ใหม่
-
SpaceX เชื่อว่าจรวดที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้อย่างสมบูรณ์และรวดเร็วจะเป็นความก้าวหน้าที่สำคัญอย่างมากในการลดต้นทุนลงเพื่อเข้าถึงอวกาศ ต้นทุนหลักของการปล่อยจรวดมาจากการสร้างจรวด ซึ่งอิงจากประวัติศาสตร์แล้วจะบินได้เพียงครั้งเดียว
-
เมื่อลองเปรียบเทียบกับเครื่องบินโดยสาร เครื่องบินใหม่แต่ละลำมีราคาพอ ๆ กับ Falcon 9 แต่สามารถบินได้หลายครั้งต่อวันและทำเที่ยวบินได้หลายหมื่นเที่ยวบินตลอดอายุการใช้งาน เพราะฉะนั้นยานอวกาศที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้อย่างรวดเร็ว อาจลดต้นทุนการเดินทางสู่อวกาศลงได้ถึง 100 เท่า
-
ในขณะที่จรวดส่วนใหญ่ถูกออกแบบมาให้เผาไหม้เมื่อกลับเข้าสู่ชั้นบรรยากาศ แต่จรวดของ SpaceX ไม่เพียงแค่ทนต่อการกลับเข้าสู่ชั้นบรรยากาศเท่านั้น แต่ยังสามารถลงจอดบนผิวโลกได้สำเร็จและขึ้นบินได้อีกครั้ง
การลงจอด
-
ตระกูลยานปล่อย Falcon ของ SpaceX เป็นยานปล่อยระดับวงโคจรประเภทแรกและประเภทเดียวที่สามารถเอากลับมาใช้ใหม่ได้ ขึ้นอยู่กับภารกิจที่ต้องการ
-
Falcon จะลงจอดบนหนึ่งในเรือโดรนอวกาศไร้คนขับกลางมหาสมุทรของเรา หรือหนึ่งในเขตลงจอดใกล้กับแท่นปล่อยจรวดของเรา
Blue Origin
วิสัยทัศน์ : เพื่อประโยชน์ของโลก
-
Blue Origin ก่อตั้งขึ้นด้วยวิสัยทัศน์ของผู้คนหลายล้านคนที่อาศัยและทำงานในอวกาศเพื่อประโยชน์ของโลก Blue Origin มองเห็นอนาคตที่ผู้คนสามารถเข้าถึงทรัพยากรอันไร้ขีดจำกัดของอวกาศและเคลื่อนย้ายอุตสาหกรรมที่สร้างความเสียหายไปสู่พื้นที่อวกาศ เพื่อรักษาดินแดนสีน้ำเงินอันเป็นต้นกำเนิดของมนุษยชาติไว้
ภารกิจ : เพิ่มโอกาสการเข้าถึงอวกาศด้วยยานจรวดแบบนำกลับมาใช้ใหม่
-
Blue Origin กำลังทำงานอย่างแข็งขันในวันนี้เพื่อสร้างภาพอนาคตนั้น ด้วยการพัฒนายานปล่อยแบบนำกลับมาใช้ใหม่และระบบภายในอวกาศที่ปลอดภัย คุ้มค่า และตอบสนองความต้องการของลูกค้าทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และด้านการป้องกันประเทศ
-
ความพยายามของ Blue Origin คือ การส่งนักบินอวกาศสู่อวกาศบน New Shepard, การผลิตเครื่องยนต์จรวดแบบใช้ซ้ำได้ที่ใช้เชื้อเพลิงเหลว, พัฒนายานปล่อยอวกาศระดับวงโคจรกับ New Glenn, สร้างที่อยู่อาศัยในอวกาศรุ่นใหม่ และกลับสู่พื้นผิวดวงจันทร์อีกครั้ง
-
ความพยายามเหล่านี้จะสร้างประวัติศาสตร์ใหม่ ๆ เกี่ยวกับการบินไปอวกาศและดึงมวลมนุษยชาติให้เข้าใกล้วิสัยทัศน์อันยิ่งใหญ่นี้มากยิ่งขึ้น
Gradatim Ferociter : ความปลอดภัยคือภารกิจหลักของ Blue Origin
-
Blue Origin ได้ทดสอบการบินของจรวด New Shepard และระบบความปลอดภัยแบบซ้ำซ้อนมาตั้งแต่ปี 2012 โปรแกรมนี้ประสบความสำเร็จในการปฏิบัติภารกิจต่อเนื่อง 22 ครั้ง รวมถึงการทดสอบระบบหนีฉุกเฉิน 3 ครั้ง ซึ่งระบบหนีฉุกเฉินของลูกเรือสามารถทำงานได้อย่างปลอดภัยในทุกช่วงของการบิน
การนำกลับมาใช้ใหม่: ความสามารถในการนำกลับมาใช้ใหม่
-
การนำกลับมาใช้ใหม่ หรือ Operational Reusability เป็นวิธีเดียวที่จะลดต้นทุนในการเข้าถึงอวกาศ ทั้ง New Shepard และ New Glenn ถูกออกแบบมาให้สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ตั้งแต่เริ่มต้น โครงสร้างแบบขึ้นลงแนวตั้งทำให้เราสามารถนำชั้นแรกของยานปล่อยกลับมาใช้ใหม่ได้ถึง 25 ครั้ง โดยแทบไม่ต้องซ่อมแซม ซึ่งส่งผลให้ขยะลดลง 25 เท่า เนื่องจากเราไม่จำเป็นต้องทิ้งฮาร์ดแวร์
-
โดยทั้งสองยานใช้เครื่องยนต์เชื้อเพลิงเหลวแบบควบคุมกำลังไฟฟ้าได้ ช่วยให้ลงจอดกลับบนแท่นปล่อยได้อย่างแม่นยำ ทำให้สามารถใช้ยานอวกาศได้อย่างคุ้มค่า ลดต้นทุน และเพิ่มความพร้อมใช้งานสำหรับลูกค้าของ Blue Origin
ขนนกแห่ง Blue Origin: ความสมบูรณ์แห่งการบิน
-
ขนนกแห่ง Blue Origin เป็นสัญลักษณ์ของความสมบูรณ์แห่งการบิน มันสะท้อนถึงอิสรภาพ การสำรวจ การเดินทาง และความก้าวหน้า เป็นพันปีแล้วที่มนุษย์เราเฝ้าดูนกน้อยบนท้องฟ้าและสงสัยว่าถ้าเราบินได้จะเป็นอย่างไร ตอนนี้เรามองขึ้นไปที่ดวงดาว และกำลังมุ่งไปสู่อนาคตที่สดใสสำหรับมนุษย์ทุกคน
Virgin Galactic
สายการบินสู่อวกาศเพื่อโลก
-
Virgin Galactic คือสายการบินอวกาศเชิงพาณิชย์แห่งแรกของโลก มีภารกิจคือเชื่อมโยงผู้คนทั่วโลกเข้ากับความรัก ความมหัศจรรย์ และความน่าทึ่งที่เกิดขึ้นจากการเดินทางสู่อวกาศ Virgin Galactic เชื่อว่าการบินสู่อวกาศมีความสามารถอันเป็นเอกลักษณ์ที่จะเปลี่ยนมุมมอง เทคโนโลยี และแม้กระทั่งเส้นทางของเราในฐานะเผ่าพันธ์ุมนุษย์
-
ในฐานะสายการบินสู่อวกาศเพื่อโลก Virgin Galactic มีความมุ่งมั่นที่จะเปลี่ยนแปลงการเข้าถึงอวกาศเพื่อประโยชน์ของมนุษยชาติ เปิดเผยความมหัศจรรย์ของอวกาศให้กับผู้คน และช่วยบุกเบิกยุคอวกาศแห่งใหม่ที่น่าตื่นเต้นนี้สำหรับมนุษยชาติ
-
Virgin Galactic ประกอบไปด้วยบุคลากรมืออาชีพที่ทุ่มเทและมีความหลงใหลกว่าหลายร้อยคน ทำงานร่วมกันเพื่อภารกิจเดียวกัน นั่นคือการเป็นสายการบินสู่อวกาศเพื่อโลก คำตอบสำหรับความท้าทายมากมายในการดำรงชีวิตบนโลกอันงดงามแต่อ่อนไหวของเรา อยู่ที่การใช้ประโยชน์จากอวกาศให้ดีกว่าเดิม นั่นคือเหตุผลที่เราพยายามสร้างแรงบันดาลใจให้เยาวชนผ่านโครงการด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ (STEM) ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากอวกาศ
-
Galactic Unite เป็นโครงการเชิงรุกที่เกิดจากความร่วมมือกันอันเป็นเอกลักษณ์ระหว่างชุมชน Future Astronaut และ Virgin Unite (องค์กรไม่แสวงกำไรของ Virgin) แสวงหาการสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกสำหรับเยาวชน โดยการนำพลังและทรัพยากรมารวมกัน เพื่อให้แน่ใจว่าเยาวชนรุ่นต่อไปจะได้รับมุมมองด้านอวกาศที่ดีสำหรับความท้าทายอันยิ่งใหญ่ของโลกยี้
-
และด้วยจำนวนลูกค้าหลายร้อยคนที่เข้าแถวรอ ทาง Virgin Galactic คาดว่าจะขยายอัตราเที่ยวบินเพิ่มขึ้นในช่วงปีที่กำลังเริ่มต้นการดำเนินงานเชิงพาณิชย์ โดยไม่ลดทอนความปลอดภัยหรือประสบการณ์ที่จะได้นับ โดยอยากให้ทุกคนได้สัมผัสประสบการณ์อวกาศให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ และจะพยายามอย่างเต็มที่เพื่อให้บรรลุเป้าหมายนั้น
-
นอกจากนี้ Virgin Galactic ยังให้ความเชื่อมั่นอีกว่าช่วงเวลาก่อนการบินไปอวกาศของคุณจะเป็นส่วนสำคัญที่ทรงคุณค่าในเส้นทางของการเดินทางร่วมกับเรา ความตื่นเต้นและการเตรียมตัวสำหรับเหตุการณ์สำคัญใด ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบินไปอวกาศ มีความสำคัญต่อประสบการณ์ที่จะได้รับอย่างมาก โดยคุณจะได้รับการฝึกฝนภายในชุมชน Future Astronaut ร่วมกับคนอื่น ๆ ที่กำลังจะเดินทางในเส้นทางเดียวกันกับคุณ
ขอให้สนุกกับการไปอวกาศครับ!
ขอบคุณรูปภาพและข้อมูลจาก :
https://medium.com/@thekeatonfox/the-future-of-space-tourism-37a93b5ef943
https://www.spacex.com/mission/?fbclid=IwAR0RqfhY3xZANinCL0Oi3k9ENtCb7tqYLIRfHD_6z1waAFbKI5yhQq7KLQc
งานเขียนนี้ เป็นส่วนหนึ่งของวิชา
751309 Macro Economic 2
ซึ่งสอนโดย ผศ.ดร. ณพล หงสกุลวสุ
คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
งานชิ้นนี้ เขียนโดย
รัฐนันท์ อนันตพรรค 651610376