The Economy of Japan: how a Superpower FELL from Grace in Four Decades

The Economy of Japan: how a Superpower FELL from Grace in Four Decades

The Economy of Japan: how a Superpower Fell from Grace in Four Decades           ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศหนึ่งที่ได้รับการยอมรับในเรื่องเศรษฐกิจอันมีศักยภาพจากทั่วทุกมุมโลก ศักยภาพของเศรษฐกิจของประเทศญี่ปุ่นดีมากจนเกือบจะแซงหน้าประเทศสหรัฐอเมริกาขึ้นกลายเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจได้ มันเกิดขึ้นได้อย่างไร และทำไมถึงประสบปัญหาจนไม่ได้กลายเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอันดับหนึ่ง           ณ ปี ค.ศ.1797 โลกกำลังประสบกับปัญหาวิกฤตการณ์น้ำมันครั้งที่ 2 ซึ่งมีสาเหตุมาจากการนปฏิวัติประเทศอิหร่าน และสงครามระหว่างประเทศอิรักและอิหร่าน ประเทศอุตสาหกรรมต่าง ๆ ต่างตอบสนองปัญหานี้ด้วยการลดอัตราดอกเบี้ยลง รวมถึงประเทศญี่ปุ่นด้วย ซึ่งนั่นทำให้เกิดนโยบายทางการเงินในญี่ปุ่น และทำให้เกิดฟองสบู่ทางด้านสินทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งตลอดกาล แต่ฟองสบู่นี้ไม่ได้ปรากฏตัวให้เห็นในทันที มันค่อย ๆ เติบโตผ่านการแสดงว่าเศรษฐกิจมีทิศทางการเติบโตเป็นอย่างดี           ในช่วงต้นทศวรรษที่ 80 ประเทศญี่ปุ่นมีความโดดเด่นทางด้านการลงทุนเป็นอย่างมากในด้านการวิจัยและนวัตกรรม ซึ่งเกิดจากการลดอัตราดอกเบี้ยลง แต่ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นยังคงใช้เทคนิคทางการเงินที่ไม่ค่อยเป็นที่รู้จักอย่าง Window Instruction ในการสร้างสินเชื่อในภาคอุตสาหกรรมอย่างเหมาะสม โดยจะไปหาธนาคารพาณิชย์ที่ใหญ่ที่สุดแล้วมอบโควตาให้แก่พวกเขา เพื่อบอกให้พวกเขาสร้างเครดิตให้กับภาคอุตสาหกรรมให้มากขึ้น ทำให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างต่อเนื่องจนแทบจะแซงประเทศสหรัฐอเมริกาและขึ้นเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอันดับหนึ่งของโลก           ในปี ค.ศ. 1985 เป็นปีที่มีข้อตกลงพลาซ่า ซึ่งนักการเมืองยุโรป อเมริกา […]

The Economy of Japan: how a Superpower Fell from Grace in Four Decades

          ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศหนึ่งที่ได้รับการยอมรับในเรื่องเศรษฐกิจอันมีศักยภาพจากทั่วทุกมุมโลก ศักยภาพของเศรษฐกิจของประเทศญี่ปุ่นดีมากจนเกือบจะแซงหน้าประเทศสหรัฐอเมริกาขึ้นกลายเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจได้ มันเกิดขึ้นได้อย่างไร และทำไมถึงประสบปัญหาจนไม่ได้กลายเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอันดับหนึ่ง

          ณ ปี ค.ศ.1797 โลกกำลังประสบกับปัญหาวิกฤตการณ์น้ำมันครั้งที่ 2 ซึ่งมีสาเหตุมาจากการนปฏิวัติประเทศอิหร่าน และสงครามระหว่างประเทศอิรักและอิหร่าน ประเทศอุตสาหกรรมต่าง ๆ ต่างตอบสนองปัญหานี้ด้วยการลดอัตราดอกเบี้ยลง รวมถึงประเทศญี่ปุ่นด้วย ซึ่งนั่นทำให้เกิดนโยบายทางการเงินในญี่ปุ่น และทำให้เกิดฟองสบู่ทางด้านสินทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งตลอดกาล แต่ฟองสบู่นี้ไม่ได้ปรากฏตัวให้เห็นในทันที มันค่อย ๆ เติบโตผ่านการแสดงว่าเศรษฐกิจมีทิศทางการเติบโตเป็นอย่างดี

          ในช่วงต้นทศวรรษที่ 80 ประเทศญี่ปุ่นมีความโดดเด่นทางด้านการลงทุนเป็นอย่างมากในด้านการวิจัยและนวัตกรรม ซึ่งเกิดจากการลดอัตราดอกเบี้ยลง แต่ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นยังคงใช้เทคนิคทางการเงินที่ไม่ค่อยเป็นที่รู้จักอย่าง Window Instruction ในการสร้างสินเชื่อในภาคอุตสาหกรรมอย่างเหมาะสม โดยจะไปหาธนาคารพาณิชย์ที่ใหญ่ที่สุดแล้วมอบโควตาให้แก่พวกเขา เพื่อบอกให้พวกเขาสร้างเครดิตให้กับภาคอุตสาหกรรมให้มากขึ้น ทำให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างต่อเนื่องจนแทบจะแซงประเทศสหรัฐอเมริกาและขึ้นเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอันดับหนึ่งของโลก

          ในปี ค.ศ. 1985 เป็นปีที่มีข้อตกลงพลาซ่า ซึ่งนักการเมืองยุโรป อเมริกา และญี่ปุ่น ได้เห็นพ้องต้องกันว่า การค้าโลกไม่มีความสมดุล ค่าเงินดอลลาร์มีราคาสูงเกินไปเมื่อเทียบกับค่าเงินของประเทศอื่น ๆ ดังนั้น ในข้อตกลงต่าง ๆ จึงมีข้อตกลงว่า ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นจะขายเงินทุนสำรองดอลลาร์จำนวนมหาศาล เพื่อทำให้เงินเยนแข็งค่าขึ้น เงินดอลลาร์อ่อนค่าลง และมันประสบความสำเร็จ ปละนั่นทำให้ความมั่งคั่งของประเทศญี่ปุ่นเพิ่มมากขึ้น เพราะของนำเข้าราคาถูกลง ส่งผลให้เกิดปัญหาทางด้านการส่งออก เพื่อตอบโต้แรงกดดันต่อค่าเงินเยน ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก ทำให้สามารถกู้ได้ถูกกว่าเดิม และทำให้เกิดฟองสบู่ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งตลอดกาล ประเทศญี่ปุ่นผ่านมันมาได้ด้วยตัวเอง โดยการออกกฎที่เข้มงวดมากขึ้นในการให้สินเชื่อผ่านเทคนิคทางการเงินที่ใช้กันอยู่ แต่เพราะอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำมาก ราคาสินทรัพย์ต่าง ๆ รวมถึงราคาหุ้นพุ่งสูงจนแทบทะลุเพดานกราฟ ประชาชาชาวญี่ปุ่นร่ำรวย นักลงทุนชาวญี่ปุ่นหลั่งไหลไปทั่วโลก  ในปี ค.ศ. 1989 ประเทศญี่ปุ่นเริ่มขึ้นอัตราดอกเบี้ย นั่นทำให้ฟองสบู่แตก ตลาดหุ้นญี่ปุ่นอยู่ในจุดสูงสุด เศรษฐกิจญี่ปุ่นแข็งแกร่งอย่างแท้จริง แต่ก็ไม่ได้มีเพียงผลดีเท่านั้น สิ่งนี้เป็นส่วนหนึ่งของการที่ประเทศญี่ปุ่นเผชิญปัญหาเงินฝืดและเศรษฐกิจซบเซา แต่ไม่เหตุผลหลัก ๆ แต่อย่างใด

          กลไกที่สำคัญที่ทำให้ประเทศญี่ปุ่นเผชิญกับปัญหาเงินฝืดและภาวะเศรษฐกิจซบเซามีทั้งหมดอยู่สามประการด้วยกัน ประการที่หนึ่ง คือ ภาวะเงินฝืดในช่วงปี 1990 ประการที่สอง คือ การคาดการณ์เงินเฟ้อในช่วงปี 2000 และประการสุดท้าย คือ การลดลงของประชากรในช่วงปี 2010

          ภาวะเงินฝืดในช่วงปี 1990 มีลักษณะเป็นเงินฝืดที่ผันผวน ระบบธนาคารที่เหมือนจะล่มสลาย เนื่องจากฟองสบู่แตก ทำให้เงินมีค่าลดลงมา ราคาสินค้ามีค่าลดลง รวมถึงค่าจ้างก็ลดลง แต่หนี้สินยังคงมีค่าเท่าเดิม ทำให้ประชาชนชาวญี่ปุ่นมีหนี้สินรัดตัวเนื่องจากกู้ไว้ตอนที่อัตราดอกเบี้ยต่ำ ธนาคารกลางต้องการช่วยเหลือจึงมีการลดอัตราดอกเบี้ยลงแต่ลดลงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ซึ่งไม่ช่วยอะไรเลย บริษัทต่าง ๆ ก็ประสบปัญหาในการกู้ยืม เพราะธนาคารไม่สามารถให้สินเชื่อได้ ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นจึงตัดสินใจที่จะเพิ่มทุนให้แก่ธนาคารต่าง ๆ แต่ก็เกิดกระแสต่อต้านมากมาย ทำให้ภาคธนาคารยังอยู่ในสภาวะชะลอตัว แต่ในช่วงปีค.ศ. 1997 วิกฤตการณ์ทางการเงินที่ทั่วโลกประสบอยู่ก็มาเยือนญี่ปุ่น ญี่ปุ่นแก้มันคร่าว ๆ โดยการไม่รายงานแก่ประชาชนทำให้ไม่เกิดความตื่นตระหนกมากมาย แต่ก็ยังมีผลกระทบที่ได้รับอย่างสถาบันทางการเงินหลายแห่งปิดตัวลง แต่ก็ยุติลงได้เมื่อสถาบันการเงินหลายแห่งได้รับเงินออมจากภาษี วิกฤตครั้งนี้ก็มีข้อดี คือ ทำให้ปัญหาหนี้ต่าง ๆ ถูกคลี่คลายลงทั้งหมด

          การคาดการณ์เงินเฟ้อในช่วงปี 2000 เนื่องจากต้องการให้เศรษฐกิจเติบโต หนี้ทั้งของภาครัฐและเอกชนหมดไป ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นจึงค่อนข้างคาดหวังกับเงินเฟ้อเป็นอย่างมาก จึงได้มีการทดลองทางการเงินเกิดขึ้นนั่นคือ มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ จนในที่สุดมันก็ทำให้เกิดเงินเฟ้ออันน้อยนิดขึ้นมาจริง ๆ แต่วิกฤตทางการเงินของโลกก็เข้ามากระทบญี่ปุ่น ความจริงมันไม่ได้กระทบโดยตรง แต่ญี่ปุ่นพึ่งพาการส่งออกเป็นอย่างมาก พอประเทศคู่ค้าได้รับผลกระทบ ญี่ปุ่นก็ได้รับผลกระทบตาม ทำให้ไม่สามารถหลุดจากสภาวะเงินฝืดได้

          ต่อมาในปี 2012 นายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ ได้เข้ามีอำนาจในการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรง และวาระที่เป็นที่รู้จักของเขา คือ Abenomics ซี่งประกอบไปด้วย นโยบายทางการเงินอย่างรุนแรงอย่างอัตราดอกเบี้ยติดลบ การเพิ่มการใช้จ่ายของรัฐบาล และการปฏิรูปโครงสร้างอย่างการเพิ่มอัตราการแข่งขันของบริษัทในญี่ปุ่น แต่นั่นก็ทำให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นจริงแต่ไม่เคยถึง 2% เลย เพราะประชากรของประเทศญี่ปุ่นกำลังหดตัวอย่างรวดเร็วอันเนื่องมาจากสภาวะเงินฝืดที่ประสบมากว่าสองทศวรรษ

งานเขียนนี้ เป็นส่วนหนึ่งของวิชา

751309 Macro Economic 2

ซึ่งสอนโดย ผศ.ดร. ณพล หงสกุลวสุ

คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 

งานชิ้นนี้ เขียนโดย 

นางสาวภัทราจิตร ไชยวุฒิ 651610338

ECON-CMU